วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การลำเลียง

4. การลำเลียงของพืช
4.1 การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
น้ำและแร่ธาตุเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของพืช เมื่อนักเรียนใช้แว่นขยายส่องดูที่บริเสณปลายรากของพืชบางชนิดเช่น ถัว จะพบว่ามี ขนราก อยู่ที่บริเวณปลายรากอย่างหนาแน่น ซึ่งขนรากนี้มีประโยชน์ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุจากดินที่อยู่รอบ ๆ ข้างเข้าสู่พืช ขนรากมีจำนวนมากทำให้มีโอกาสสัมผัสกับน้ำและแร่ธาตุได้มากขึ้น หารนัดเรียนนำขนรากมาตัดตามขวางแล้วจะพบว่าจนรากจะอยู่บริเวณนอกสุดของราก น้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ขนรากโดยวิธีการออสโมซิสและการแพร่ตามลำดับ
โครงสร้างที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
น้ำและแร่ธาตุจะแพร่เข้าสู่ภายในราก และถูกลำเลียงไปยังบริเวณต่าง ๆ เช่นราก ลำต้น กิ่ง ใบ โดยผ่านทาง ท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) น้ำและแร่ธาตุจะออกไปตามท่อลำเลียงเข้าสู่เซลล์อื่น ๆ ด้วยวิธีการแพร่เช่นเดียวกัน
ภาพ แสดงท่อลำลเยงน้ำและอาหาร

การคายน้ำของพืช

ที่บริเวณผิวใบของพืช จะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ จำนวนมากแทรกอยู่ระหว่างเซลล์คุม 2 เซลล์ เซลล์นี้เรียกว่า เซลล์ปากใบ (Stomata)
รูปเซลล์ปากใบ

น้ำที่ผ่านออกทางปากใบของพืชจะมีลักษณะเป็นไอน้ำ เรียกว่า กระบวนการคายน้ำของพืช(Transpiration) ซึ่งจะมีประโยชน์ช่าวยในการลำเลียงน้ำ โดยทำให้เกิดแรงดึงน้ำจากส่วนล่างขึ้นสู่บนเป็นสายน้ำไหลติดต่อกันโดยตลอด การคายน้ำของพืชมีความชุ่มชื้น และช่วยลดอุณหภูมิภายในลำต้นและใบด้วย
4.2 การลำเลียงอาหารในพืช
จากความรู้ที่นักเรียนที่นักเรียนได้ศึกษาในเรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช นักเรียนคงทราบแล้วว่าอาหารที่พืชสร้างขึ้นคือ แป้ง และน้ำตาล และจะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยท่อลำเลียงอาหาร (Phloem) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวกันเป็นท่อยาว แทรกอยู่คู่กับท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) อาหารจะออกจากท่อลำเลียงอาหารไปยังเซลล์อื่น ๆ ของพืช โดยงิธีการแพร่ และพืชได้เปลี่ยนอาหารส่วนหนึ่งให้เป็นพลังงานเพื่อใช้ใชกิจกรรมการดำรงชีวิต และอาหารอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปสร้างเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อให้พืชเจริญเติบโต
โครงสร้างในการลำเลียงอาหารในพืชประกอบไปด้วย
เซลล์แครมเบียม : จะสร้างไซเลมและโฟลเอมใหม่ขณะที่พืชโตขึ้น
มัดท่อน้ำท่ออาหาร : ประกอบด้วยโฟลเอมแคมเบียมและไซเลม
เนื้อเยื่ออีพิเดอร์มิส : เป็นเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว ภายนอกลำต้นมีหน้าที่ป้องกันลำต้นและลดการสูญเสียน้ำ
โฟลเอม : นำสารละลายอาหารและฮอร์โมนไปทั่วทุกส่วนของพืช
ไซเลม : นำน้ำและแร่ธาตุขึ้นไปที่ใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น